โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพร ประธาน กสว. กล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีแห่งชาติว่า “โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์การจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรายสาขาเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งสู่ยุค 4.0” เป็นโครงการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 อุตสาหกรรมประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมการดิจิทัล

รศ.ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี ผู้อำนวยการโครงการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลถึงกรอบการดำเนินงานและความก้าวหน้าของการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่า “แผนที่นำทางเทคโนโลยี” ถือเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ธุรกิจที่ต้องเตรียมรับมือกับเทคโนโลยีใหม่มักจะนำแผนที่นำทางเทคโนโลยี หรือ Technology Roadmap (TRM) มาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลักขององค์กร การทำ TRM คือการออกแบบการทำงานที่คำนึงถึงวิสัยทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรในระยะยาว ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ตลาด ผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา การจัดหา ทรัพยากร และการคาดการณ์การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ของโลก ฯลฯ นำมาวิเคราะห์และสรุปผล แล้วออกแบบเป็นรูปกราฟิกหรืออินโฟกราฟิก เพื่อใช้สื่อความให้หน่วยงานและหน่วยธุรกิจทุกหน่วยงานในองค์กรเห็นภาพอนาคต และเส้นทางการเดินไปสู่เป้าหมายในอนาคตที่พึงประสงค์ขององค์กรได้อย่างชัดเจน และรวดเร็ว ก่อนการสร้างแผนที่นำทางเทคโนโลยีในระดับองค์กร จะเริ่มพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่องค์กรควบคุมไม่ได้โดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสังคม ทิศทางของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม การเมือง เป็นต้น หลังจากนั้นจะประเมินว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจะมีผลต่อโอกาสทางการตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร ขั้นตอนต่อไปคือ การวาดภาพของผลิตภัณฑ์ หรือบริการในอนาคตของธุรกิจที่จะต้องสร้างขึ้น จากนั้นก็จะเป็นการแยกย่อยถึงองค์ประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์หรืบริการในอนาคตว่าจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีใดบ้างเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว เป็นเทคโนโลยีที่ต้องมีการพัฒนาต่อ หรือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้น ในปัจจุบันผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อและเนื้อหาของงานวิจัยและพัฒนาที่ต้องทำตลอดไปจนถึงการประมาณการ ทรัพยากรสำคัญที่องค์กรต้องเตรียมจัดหาให้พร้อมตรงตามช่วงเวลาที่ต้องการ ได้แก่ทรัพยากรบุคคล เงินทุน ความรู้ความสามารถขององค์กร ความพร้อมของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการเตรียมสร้างพันธมิตรภายนอกองค์กรที่จำเป็น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบัน การศึกษา มหาวิทยาลัย

image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง