and BIOTECHNOLOGY
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
ด้านพืชผลมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยและพัฒนาแผนที่นำทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยำสูงในอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืชผล เทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ ดิจิทัล เพื่อยกระดับผลผลิต และคุณภาพสินค้าเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การเจริญเติบโต ผลผลิตและความปลอดภัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพืชผล เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับระบบการผลิตพืชผลให้มีความปลอดภัย ความมั่นคง และความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ ปัจจัยผลิต การเพาะปลูกพืชผล การเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์และการแปรรูป มาตรฐานความปลอดภัยสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์พืชผลและความยั่งยืนทางอาหารสำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมด้านพืชผลของไทย |
|
ด้านปศุสัตว์และประมงมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยและพัฒนาแผนที่นำทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยำสูงด้านปศุสัตว์และประมง เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารสัตว์ อาหารเสริม สำหรับสัตว์และการสัตวแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การเจริญเติบโต ผลผลิตและความปลอดภัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในปศุสัตว์และประมง เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับระบบการผลิตปศุสัตว์และประมงให้มีความปลอดภัย ความมั่นคง และความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ ปัจจัยผลิต การเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และการแปรรูป มาตรฐานความปลอดภัยสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์และความยั่งยืนทางอาหารสำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมด้านปศุสัตว์และประมงของไทย |
ผศ.ดร. กิตติชัย ราชมหา
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง
นักวิจัยโครงการ
อ.น.สพ.ดร.กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร
นักวิจัยโครงการ
อ.กฤตภพ วรอรรคธรรม
นักวิจัยโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
สรุปปัจจัยผลักดันเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 มุ่งไปที่การระดมสมองของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในมิติของภาคอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีรายละเอียดสรุปผลการวิเคราะห์จากผู้ประกอบการ ดังนี้
1.) อุตสาหกรรมเกษตร กลุ่มพืช
ระยะสั้น (ภายใน 3 ปี)
ระยะกลาง (3-5 ปี)
ระยะยาว (5-10 ปี)
2.) อุตสาหกรรมเกษตร กลุ่มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ระยะสั้น (ภายใน 3 ปี)
ระยะกลาง (3-5 ปี)
ระยะยาว (5-10 ปี)
|
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 มุ่งไปที่การระดมสมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นักวิจัย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ เพื่อศึกษาองค์ความรู้และแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของภาคอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพของไทยโดยครอบคลุม 2 กลุ่มคือ กลุ่มพืช และ กลุ่มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมในระยะสั้น (ภายใน 3 ปี คือ การเกษตรแม่นยำบนฐานของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมในระยะกลาง (3-5 ปี) คือ การเกษตรแม่นยำบนฐานของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมแบบล้ำสมัยและนวัตกรรมที่ออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมในระยะยาว (5-10 ปี) คือ การเกษตรอย่างยั่งยืนบนฐานของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมแบบล้ำสมัย เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องมีกำหนดโครงการวิจัยระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและวิศวกรรม สร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น National database bank for Prediction ศูนย์รวบรวมข้อมูลของภาคการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์, Smart Farming ฟาร์มอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการทั้งระบบ โดยใช้ AI, IOT, Sensor, Mobile เป็นต้น |