ที่มาของโครงการ

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงอย่างมากในฐานะเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคมและเศรษฐกิจโลกในอนาคต โดย AI ถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับการดำเนินงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการ โดยช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความแม่นยำ และเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการทำงาน

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีฤดูการผลิตตลอดทั้งปี จากการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ดังนั้นการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยกระบวนการผลิตอันชาญฉลาด ความสามารถในการคาดการณ์หรือพยากรณ์ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านการตลาดและกระบวนผลิตและขนส่งสินค้า การส่งเสริมการขาย และการทำตลาดล่วงหน้า ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอาหารไทย อันจะช่วยให้ลดต้นทุน สร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมอาหารไทยได้

AI For Food Industry

ปัญญาประดิษฐ์
สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

Advanced Supply Chain Management

เทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ทำนายความต้องการสินค้า การปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า การควบคุมความปลอดภัยและคุณภาพ และการติดตามสินค้าเพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

Enhanced Customer Service and Experience

เทคโนโลยี AI เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
(Personalized Recommendations)

New Food Product Development

เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยค้นหาส่วนผสมที่สมบูรณ์ของรสชาติและวัตถุดิบเพื่อสร้างรสชาติที่โดดเด่นและน่าลิ้มลองทำให้ผู้ผลิตอาหารสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ เช่น อาหารโปรตีนทางเลือก เป็นต้น

image
image
รายนามนักวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการ

1. ศึกษาโอกาสในการนำเทคโนโลยี AI มาต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
2. กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมอาหาร
3. ศึกษาสถานภาพปัจจุบันของงานวิจัยและเครือข่ายนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
4. วิเคราะห์ช่องว่างสำหรับการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมอาหาร
5. จัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้เกิดการวิจัยพัฒนาที่มุ่งเป้าและบูรณาการ ตอบความต้องการใช้งานที่แท้จริงของภาคอุตสาหกรรมและการใช้งานในประเทศ

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทยร่วมถึงเครือข่ายนักวิจัย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา (Pathway) และวิเคราะห์จัดทำร่างแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทยรวมถึงเครือข่ายนักวิจัย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3

มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทย พร้อมรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนทัศนคติกับผู้เชี่ยวชาญ