Next-Generation
AUTOMOTIVE

อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

Connected Vehicle

ยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารข้อมูลได้กับสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล ยานยนต์ และโครงสร้างพื้นฐาน

Autonomous Vehicle

ยานยนต์ที่มีความสามารถขับเคลื่อนได้โดยอัตโนมัติจากการเชื่อมต่อและการสื่อสารข้อมูลโดยการทำงานร่วม ของเทคโนโลยีการสื่อสาร การตรวจจับและระบบนำทาง ซึ่งเริ่มจากระดับที่รถยนต์ขับขี่ร่วมกับบุคคลไปจนถึงรถยนต์สามารถขับขี่ได้ด้วยตนเอง

Sharing Mobility

การเดินทางที่ใช้ยานพาหนะร่วมกันโดยไม่ได้เป็นเจ้าของยานพาหนะ อาจใช้คนเดียวหรือใช้ร่วมกับบุคคลอื่น

Electric Vehicle

ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าโดยอาจเป็นการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว หรือทำงานร่วมกับเครื่องยนต์

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

การวิเคราะห์สถานะของงานวิจัยและเครือข่ายวิจัยในประเทศ

คณะวิจัยได้วิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ โดยใช้ Program ชื่อ “Bibliometrix” เพื่อศึกษาถึงกลุ่มของประเด็นที่นักวิจัยในประเทศสนใจ นักวิจัยหลักในแต่ละประเด็น และการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัย

อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้มีการนำคำสำคัญ Connected-Autonomous-Shared-Electric Vehicle มาใช้ค้นหา พบว่านักวิจัยไทยเริ่มมีผลงานออกมาช่วงปี 2005 จนถึงปัจจุบันราว 300 กว่าบทความ ซึ่งจะส่วนใหญ่จะมาจากศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ผลวิเคราะห์ดัชนีวรรณกรรมใน 3 กรณี ได้แก่ 1.Connected and autonomous vehicle, 2.Electric vehicle และ 3.Battery for vehicle นั้นชี้ให้เห็นชัดว่าการทำงานวิจัยยังอยู่อย่างกระจัดกระจาย ไม่ได้บูรณาการเพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้าง อีกทั้งเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เช่น ยางล้อ และโครงสร้างน้ำหนักเบา ยังไม่ได้ถูกนำมาศึกษาในวงกว้าง เหมือนอย่างเช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ซึ่งสามารถค้นพบคำสำคัญตามบทความวิชาการได้มากกว่า
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และการกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ รวมทั้งวิเคราะห์ประเด็นองค์ความรู้และกำหนดแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของประเทศไทย เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ Connected and Autonomous Vehicle (CA) และ Electric Vehicle (EV) เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมในระยะสั้น (ภายใน 3 ปี) คือผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ ในระยะกลาง (3-5 ปี) คือผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาตัวเองจนเป็น System Integrator ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และในระยะยาว (5-10 ปี) คือผู้ประกอบการไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในการผลิตกชิ้นส่วนยานยนต์ในระดับนานาชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องมีกำหนดโครงการวิจัยระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและวิศวกรรม สร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เทคโนโลยีวัสดุน้ำหนักเบา (Light weight material) เทคโนโลยีตรวจจับ (Sensor) เป็นต้น
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทยร่วมถึงเครือข่ายนักวิจัย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา (Pathway) และวิเคราะห์จัดทำร่างแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทยรวมถึงเครือข่ายนักวิจัย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3

มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศของประเทศไทย พร้อมรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนทัศนคติกับผู้เชี่ยวชาญ