and LOGISTICS
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
Smart and green aviationการใช้เทคโนโลยีพลังงาน ระบบอัตโนมัติ ดิจิทัลและระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศ และเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับอากาศยานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
|
Safety and efficiency air navigationเทคโนโลยีการบริการเดินอากาศที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยการประสานเทคโนโลยีการสื่อสาร การนำทางและการตรวจตราร่วมกับการจัดการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเดินอากาศ |
|
MRO and aviation trainingการซ่อมบำรุงอากาศยานและการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Big data หุ่นยนต์อัตโนมัติและระบบปัญญาประดิษฐ์ |
|
Unmanned aerial vehicleอากาศยานที่สามารถบินด้วยระบบอัตโนมัติ และแบบสั่งการบินจากระยะไกล ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการบิน (Aerial work) เพื่อการสำรวจ การเกษตร การส่งสินค้า และอื่นๆ |
ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์
หัวหน้าโครงการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.นวทัศน์ ก้องสมุทร
นักวิจัยโครงการ
ดร.ชาญวิทย์ อุดมศักดิกุล
นักวิจัยโครงการ
ดร. นุวงศ์ ชลคุป
นักวิจัยโครงการ
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
น.ส.ฐิติภัทร ดอกไม้เทศ
นักวิจัยโครงการ
สถาบันยานยนต์
ดร.กัญณภัทร ชื่นวงศ์
นักวิจัยโครงการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงษ์
นักวิจัยโครงการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยง
ดร.วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
นักวิจัยโครงการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and logistics)
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and logistics)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อวิเคราะห์แนวทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ในการประชุมครั้งนี้ทีมวิจัยได้นำเสนอผลการศึกษา Drivers/Trends และกำหนดเป้ายุทธศาสตร์ (ผลจากการประชุมฯ ครั้งที่ 1) ที่จะสามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในอนาคต และนำเสนอและระดมสมองเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นไปได้เพื่อรองรับการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม (list of potential products/services) และทำการประเมินสำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะส่งเสริมในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ โดยการประเมินความน่าสนใจ (Attractiveness) และความพร้อม (Readiness) ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะส่งเสริมเพื่อนำไปประกอบการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Airline services Airport services Air navigation service MRO และ Training ผลจากการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการและระดมสมองเพื่อวิเคราะห์แนวทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเบื้องต้น สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่1 เทคโนโลยีที่มีความพร้อมและมีความต้องการของตลาดสูง การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 อุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อวิเคราะห์แนวทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ในการประชุมได้นำเสนอผลการศึกษา Drivers/Trends และกำหนดเป้ายุทธศาสตร์ (ผลจากการประชุมฯ ครั้งที่ 1) Drivers ที่จะสามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไร้คนขับในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างประชากรเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย การขยายตัวของเมือง เกิดธุรกิจใหม่ที่ทำให้มีความต้องการใช้ UAV มากขึ้น เช่น ธุรกิจบันเทิง การแสดง การกู้ภัย การสำรวจ เป็นต้น และในการประชุมครั้งนี้ได้มีการระดมสมองเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นไปได้เพื่อรองรับการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม (list of potential products/services) และทำการประเมินสำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะส่งเสริมในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ โดยการประเมินความน่าสนใจ (Attractiveness) และความพร้อม (Readiness) ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะส่งเสริมเพื่อนำไปประกอบการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับโดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) UAV Design 2) Parts & Component Manufacturing 3) System integration 4) UAV Assembly 5) UAV Service และ 6) Testing service provider |