BIOBASED

Industry

อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ

อุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ

ต่อยอดผลผลิตเกษตร เศษวัสดุ และของเสียในกระบวนการผลิตไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (waste to value ) ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และก๊าซชีวภาพ เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานภายในประเทศ

อุตสาหกรรมวัสดุชีวภาพและเคมีชีวภาพ

เป็นการพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการต่อยอดเพิ่มค่าของเชื้อเพลิงชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น ตอบสนองการขยายตัวของตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติกชีวภาพ และโอลิโอเคมีคอล

อุตสาหกรรมผลิตสารประกอบที่ให้คุณสมบัติพิเศษ (functional ingredient)

ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มบนศักยภาพที่ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงได้เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก เป็นการใช้นวัตกรรมสกัดสารสกัดที่ให้คุณสมบัติพิเศษจากพืช/สมุนไพร และเอนไซม์จากจุลินทรีย์หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น เช่น สารชีวภัณฑ์ทางการเกษตร รวมไปถึงสารและสูตรของสารที่ทำให้เหมาะสมต่อการบริโภค เช่น อาหารที่ง่ายต่อการบดเคี้ยวและการกลืน สารทดแทนน้ำตาล สารทดแทนไขมัน เป็นต้น

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

การวิเคราะห์สถานะของงานวิจัยและเครือข่ายวิจัยในประเทศ

คณะวิจัยได้วิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ โดยใช้ Program ชื่อ “Bibliometrix” เพื่อศึกษาถึงกลุ่มของประเด็นที่นักวิจัยในประเทศสนใจ นักวิจัยหลักในแต่ละประเด็น และการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัย

อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ พบว่าในทิศทางงานวิจัยของประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับงานวิจัยระดับนานาชาติ คือ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับสภาพวัตถุดิบที่ย่อยยากให้อยู่ในรูปที่นำไปใช้ประโยชน์ในขั้นตอนต่อไปได้ง่าย โดยทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มหลัก คือ 1) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารประกอบซึ่งแยกจากชีวมวล ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิก ซึ่งเป็นสารมูลค่าสูง 2) ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และก๊าซชีวภาพ 3) ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม biosurfactant ที่ผลิตจากจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ หรือ Bacillus subtilis และ biopolymer เช่น chitosan ซึ่ง มีคุณสมบัติที่ย่อยสลายได้ (biodegradation) และ 4) ผลิตภัณฑ์ Biochemical ที่เป็นสารมูลค่าสูงอื่น ๆ อาทิ glycerol, humic acid, พลาสติกชีวภาพ (bioplastic), lactic acid เป็นต้น อย่างไรก็ดีในเชิงเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ที่มีการวิจัยค่อนข้างกว้างขวางคือกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (strategic target) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เชื้อเพลิงชีวภาพ เอทานอลเพื่อการแพทย์รวมไปถึงการพัฒนา ethanol Fuel cell เพื่อรองรับการขยายตัวของรถไฟฟ้า 2) กลุ่มโพลิเมอร์/พลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ วัสดุทางการแพทย์ และมุ่งสู่การพัฒนาโพลิเมอร์ชนิดใหม่ๆที่มีคุณสมบัติดีเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 3) กลุ่มสารให้คุณสมบัติพิเศษ เช่น อาหารเสริมสุขภาพ สารปรุงแต่ง สารชีวภัณฑ์ และเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยควรพิจารณาเรื่อง 1) ลดต้นทุนการผลิต 2) ใช้ประโยชน์จากของเสียรวมถึง CO2 3) พัฒนาคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ให้ใกล้เคียงหรือดีกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เช่น การทนความร้อน 4) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฐาน เช่น micro encapsulation เป็นต้น
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง