Digital-Driven

Industries

ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

Artificial Intelligence

ความสามารถของระบบ “ปัญญาประดิษฐ์” ที่จะมีบทบาทในการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิต ขนส่ง และบริการ ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมและแรงงานในอนาคต

Natural Language Processing

ระบบ “การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์” เป็นส่วนหนึ่งของระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจข้อความต่างๆที่มนุษยืใช้ในการสื่อสาร ทั้งในแง่ของความหมายและอารมณ์ของข้อความ เพื่อนำไปสู่การตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

Blockchain and Cyber Security

นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างความปลอดภัยสำหรับข้อมูลที่เปิดเผยได้ โดยการสร้างข้อมูลที่ทุกฝ่ายบันทึกข้อมูลเดียวกัน และบันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลพร้อมๆกัน โดยไม่มีหน่วยงานกลางในการเก็บบันทึกหรือประมวลข้อมูล เพื่อป้องกันการแทรกแทรงหรือปลอมแปลงข้อมูล

Quantum Computing

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่จะมาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยอาศัยปรากฏการณ์เชิงควอนตัมที่ใช้คุณสมบัติทางกายภาพของอนุภาคย่อยของอะตอม ในการช่วยประมวลผลข้อมูล ส่งผลให้เกิดการประมวลผลที่เร็วกว่าคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปอย่างมหาศาล และจะเปลี่ยนแปลงการทำงานของผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดในอนาคต

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

การวิเคราะห์สถานะของงานวิจัยและเครือข่ายวิจัยในประเทศ

คณะวิจัยได้วิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ โดยใช้ Program ชื่อ “Bibliometrix” เพื่อศึกษาถึงกลุ่มของประเด็นที่นักวิจัยในประเทศสนใจ นักวิจัยหลักในแต่ละประเด็น และการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัย

อุตสาหกรรมดิจิทัล การศึกษาสถานะของงานวิจัยและเครือข่ายงานวิจัย มุ่งเน้นอยู่ใน 4 กลุ่มคำวิจัยได้แก่ 1) Artificial Intelligence 2) Natural Language Processing 3) Blockchain และ 4) Quantum Computing พบว่าในฐานข้อมูลของ Scopus มีการตีพิมพ์ในกลุ่มของ Artificial Intelligence เป็นจำนวนมากที่สุดคือ 1,657 บทความซึ่งเริ่มมีในฐานข้อมูลตั้งแต่ปี 1987 ในกลุ่มของ Natural Language Processing มีจำนวน 510 บทความและเริ่มปรากฏในฐานข้อมูลตั้งแต่ปี 1993 ขณะที่กลุ่มของ Blockchain มีจำนวน 86 บทความโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2002 และในกลุ่มของ Quantum Computing มีเพียง 8 บทความ และเริ่มมีในฐานข้อมูลเมื่อปี 2002 นอกจากนั้นยังพบว่านักวิจัยในแต่ละกลุ่มมีรายชื่อบุคคลที่ซ้ำกันระหว่างกลุ่มคำจำนวนน้อยมากถึงแม้บางกลุ่มคำมีความเชื่อมโยงกันในพื้นฐานของความรู้ก็ตามแสดงให้เห็นถึงกลุ่มย่อยที่แยกจากกันตามความสนใจของนักวิจัยและการประยุกต์องค์ความรู้พื้นฐานไปสู่การใช้งานแยกตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมดิจิทัล ผู้เข้าร่วมได้ความเห็นในภาพรวมว่า ในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ และ Natural Language Processing เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนั้น ผู้ดำเนินการทั้งในภาคการวิจัย ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต้องการการเข้าถึงฐานข้อมูลที่จำเป็นของในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งฐานข้อมูลกลางนี้อาจจะยกระดับเป็นฐานข้อมูลกลางในระดับของ กลุ่มประเทศ CLMV หรือ อาเซียน ด้วยขีดความสามารถของผู้ประกอบการและความใกล้ชิดกับประเทศใน CLMV ในประเด็นของ Blockchain มีประเด็นสำคัญคือการยอมรับการแปลงสินทรัพย์ต่าง ๆ ไปสู่รูปแบบของสินทรัพย์ที่เป็นดิจิทัลโดยขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมต่าง ๆ
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง