SMART ELECTRONICS

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

Advanced Electronic Components

นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มีคุณสมบัติเฉพาะเชิงอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบหรืออุปกรณ์ทางไฟฟ้า

Smart Electronic Devices/Subsystem

หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสมองกลฝังตัว สามารถประมวลผล มีหน่วยเซนเซอร์ หน่วยขับเคลื่อนและอาจรวมการสื่อสารด้วย

Smart Ecosystem

ระบบนิเวศน์หรือแพลตฟอร์มหรือมาตรฐานของบริการและผลิตภัณฑ์ธุรกิจสำหรับการทำงานร่วมกันของระบบย่อยทั้งที่เป็นสมาร์ตอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์บริการอื่น จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

การวิเคราะห์สถานะของงานวิจัยและเครือข่ายวิจัยในประเทศ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (smart electronics) ได้ถูกระบุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ที่มีความสำคัญ ซี่งเมื่อพิจารณาคำสำคัญทั้ง 3 ด้าน ที่ประกอบด้วย 1) Advanced Electronics components 2) Smart Electronics devices และ 3) Smart ecosystem/ platform ด้วยการวิเคราะห์ดัชนีวรรณกรรม (Bibliometric analysis) พบว่านักวิจัยไทยมีการนำเสนอบทความมากกว่า 8,000 บทความ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ Wireless sensor networks, Biosensor, Zinc oxide, Embedded system, Smart city และ Internet of things ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้นการวิจัยในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการทำงานวิจัยยังขาดรวมกลุ่มและบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมในประเทศ อีกทั้งเทคโนโลยีพื้นฐานและบุคลากรที่จำเป็นยังคงมีอย่างจำกัด ดังนั้นการแผนที่นำทางการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะจึงมีความสำคัญ เพื่อนำพาอุตสาหกรรมไทยไปยังตลาดโลกในอนาคต
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (smart electronics) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ประเด็นองค์ความรู้และกำหนดแผนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมสมาร์ตอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสมาร์ตอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ Advanced Electronic Components และ Smart devices/ecosystem/Platform เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมในระยะสั้น (ภายใน 3 ปี) คือยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมทั้งบุคลากร แรงงาน และสร้างองค์ความรู้เฉพาะทาง ในระยะกลาง (3-5 ปี) คือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศของประเทศที่เอื้อต่อการพัฒนา เพื่อสร้างโอกาสการค้าและเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันในตลาดโลก และในระยะยาว (5-10 ปี) คือ เป็นศูนย์กลางนวัตกรรม งานวิจัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องมีกำหนดโครงการวิจัยระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและวิศวกรรม สร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่น่าจะมีศักยภาพสูง (RISC-V CPU) และที่ถูกออกแบบมาสำหรับตลาดที่มีความเฉพาะตัว (Localized/Niche products) การสนับสนุนให้มีชุดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการพัฒนาระบบมาตราฐาน (Standard SDK) ตลอดจนแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับบริการในรูปแบบต่างๆ (Strategic digital platform) เป็นต้น
image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง