FOOD
for the Future
อุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคต
Organic Foodอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร ที่ปราศจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (Pesticides) และไม่ใช่ผลผลิตทางการเกษตรจากสายพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม |
|
Functional Foodอาหารหรือสารอาหารที่อยู่ในรูปธรรมชาติ แปรรูปเพิ่มส่วนผสมใหม่หรือส่วนผสมที่มีอยู่เดิมเพื่อให้ประโยชน์ต่อร่างกาย นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้จากสารอาหารหลักในชีวิตประจำวัน |
|
Medical Foodอาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อโรค หรืออาหารที่รับประทานเสริมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสภาวะของโรค |
|
Novel Foodวัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี หรือได้จากกระบวนการผลิตใหม่ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้าง รูปแบบของอาหารเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ |
ผศ.ดร. กิตติชัย ราชมหา
หัวหน้าโครงการ
อ.กฤตภพ วรอรรคธรรม
นักวิจัยโครงการ
ผศ.ดร.วรงค์ศิริ เข็มสวัสดิ์
นักวิจัยโครงการ
ผศ.ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์
นักวิจัยโครงการ
รศ.ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา
นักวิจัยโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
การวิเคราะห์สถานะของงานวิจัยและเครือข่ายวิจัยในประเทศ
คณะวิจัยได้วิเคราะห์บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ โดยใช้ Program ชื่อ “Bibliometrix” เพื่อศึกษาถึงกลุ่มของประเด็นที่นักวิจัยในประเทศสนใจ นักวิจัยหลักในแต่ละประเด็น และการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัย
อุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคต พบว่าประเด็นสำคัญที่มีการมุ่งวิจัยพัฒนาแยกตามกลุ่มอาหาร อาหารออแกนิกส์จะประกอบไปด้วย Organic Farming, Ruminant, Food Safety, ยีสต์ Saccharomyces, Biogenic Amines Lactic acid bacteria, Fermented ตามลำดับ อาหารฟังก์ชั่นจะประกอบไปด้วย antioxidant activities, fatty acids, plant extract, metabolism, isolation and purification อาหารทางการแพทย์จะประกอบไปด้วย oxidative stress, disease, children, obesity, cancer, prevalence, growth, nutrition, cardiovascular disease และอาหารใหม่จะประกอบไปด้วย Toxicity, Functional & Physicochemical properties, Peptides, Phenolic-compounds, Antioxidant, Edible films, Identification, Malnutrition, Quality ตามลำดับ |
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคตพบว่า เป้าหมายระยะสั้น (ภายใน 3 ปี) คือให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตอาหารที่มีปริมาณเพียงพอและได้รับคุณภาพสอดคล้องตามมาตรฐานยอมรับในระดับประเทศ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดทำมาตรฐานกลาง การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบอินทรีย์จากท้องถิ่นเทียบเท่ามาตรฐานสากล เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงตลาดและแหล่งทุนการพัฒนาสินค้า บูรณาการวิจัยนวัตกรรมเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมกับองค์กรอาหารและยา (อย.) ระยะกลาง (3-5 ปี) คือผู้ประกอบการอาหารของไทยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารที่เทียบเท่ามาตรฐานสากล ผ่านกระบวนการเช่นการจัดทำมาตรฐานบูรณาการกลางเพื่อรับรองมาตรฐานอาหารที่เป็นมาตรฐานระดับสากล เทคโนโลยีและจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพวัตถุดิบอินทรีย์จากท้องถิ่นเทียบเท่าสากล และระยะยาว (5-10 ปี) คือผู้ประกอบการไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารระดับนานาชาติ ผ่านทางการศึกษาผลกระทบและบูรณาการกฎระเบียบ การตรวจสอบ ความปลอดภัยอาหารเทียบเท่าสากล จัดทำฐานข้อมูลกลางสาระสำคัญออกฤทธิ์และสามารถเคลมได้ (Positive List Database) จัดทำฐานข้อมูลกลางสารอาหารระดับยีนส์ (Nutrigenomic Database) เป็นต้น |