อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
Medical Devices and Suppliesวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ และเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา เช่น แผ่นปิดแผล ชุดตรวจโรค วัสดุฝังใน ระบบหุ่นยนต์ ระบบสร้างภาพทางการแพทย์ และระบบนำส่งยา เป็นต้น |
|
Artificial Intelligence and Informaticsระบบปัญญาประดิษฐ์ เวชสารสนเทศ และชีวสารสนเทศ เพื่อใช้วิเคราะห์หรือวินิจฉัยในทางการแพทย์ สาธารณสุข สุขภาพ และชีววิทยา |
|
Logistics and Supply Chainโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงระบบขนส่งในทางการแพทย์และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
|
Alternative Medicineการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย เช่น สารสกัดจากสมุนไพร ยาสมุนไพร และการนวด เพื่อสุขภาพ บำบัดรักษา หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ |
|
Health & Wellness Serviceการบริหารจัดการและการให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ เพื่อพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ |
|
Medicineยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) รวมถึงชีววัตถุ และเภสัชเคมีภัณฑ์ |
อาจารย์ ดร. เคอิตา โอโน
หัวหน้าโครงการ
นางสาวธีราพร ธิรามนต์
นักวิจัย
นางสาวนฤมล รัตนากรพันธุ์
นักวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์
ที่ปรึกษาโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ประกอบด้วยการบริการทางการแพทย์ การแพทย์ทางไกลผ่าน ICT เพื่อการติดตาม ปรึกษา วินิจฉัยและรักษา การผลิตเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ การผลิตยา ยาประเภท ชีววัตถุต้นแบบ (Biologic) ชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) และการผลิตยาสมุนไพร ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ให้อยู่ภายใต้กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Core Technology) ด้านสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) ซึ่งต้องผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) และเทคโนโลยีการแพทย์ (Medtech) ในการผลิตสินค้าและบริการสุขภาพ อาทิ ยา สมุนไพร อาหารเสริม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยแนวโน้มเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ ได้แก่ การสร้างอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ระดับนาโน เทคโนโลยีการตรวจวัดสุขภาพผ่าน อุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Devices) การพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งสามารถช่วยในการรักษาและฟื้นฟูอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร แบ่งออกเป็น แยกตามประเภท 5 กลุ่มปัจจัย คือ การเมือง (Political) เศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environmental) และเทคโนโลยี (Technological) เช่น หนี้ครัวเรือน ตระหนักด้านสุขภาพ การค้าขายเครื่องมือแพทย์ โรคระบาด การขาดแคลนบุคลากร การเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ งบประมาณวิจัย การสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ และ healthtech เป็นต้น |
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
กระบวนการพัฒนา Technology Roadmap ของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรหลังจากได้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ในระยะสั้น (3 ปี: 2565-2568) Infrastructure and ecosystem:โครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการแพทย์และสุขภาพ ระยะกลาง (3-5 ปี: 2568-2570) เป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้านเทคโนโลยี การผลิต การคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพ และระยะยาว (5-10 ปี: 2570-2575) Medical Hub:ศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจร จากแนวทางการพัฒนา โดยแนวทางการพัฒนาจะมุ่งเน้น ด้านการวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การพัฒนากำลังคน การผลักดันงานวิจัยเพื่อการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ที่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ
1. วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical devices & Supplies) และยังได้มีการจัดลำดับความสนใจและความพร้อมของผลิตภัณฑ์และบริการเป้าหมายทั้งระยะสั้น กลาง และยาวที่ต้องพัฒนาสำหรับรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร |