ROBOTICS

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม

Industrial Robots

เทคโนโลยีขั้นสูงด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรม

Autonomous Mobile Robots

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ สำหรับการลำเลียงผลิตภัณฑ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในห่วงโซ่การผลิตและการบริการ

AI Vision System

ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านการวิเคราะห์ภาพ ทดแทนการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การอ่านฉลาก การนับ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์

Industrial Internet of Things

โครงข่ายไอโอทีสำหรับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูล แจ้งสถานะการทำงานเพิ่มความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต

Mass Customization

กระบวนการผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่มีการออกแบบหรือปรับคุณสมบัติให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้

Cyber Physical Cognitive System

การบูรณาการเชื่อมต่อระบบการทำงานทางกายภาพและดิจิทัล ที่ซับซ้อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานอย่างสูงสุด

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

การจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotic) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0

คณะนักวิจัยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) ซึ่ง มีผู้เข้าร่วม 71 คน ประกอบด้วยนักวิจัย 19 คน หน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรอิสระ 43 คน และคณะทำงาน 9 คน ซึ่งจากการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวสามารถ สรุปผลปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม (Driver) พร้อมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trend) และ การวิเคราะห์ผลต่ออุตสาหกรรมจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย (Implication) ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ได้ดังนี้

    • วิเคราะห์ : ปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น 1-3 ปี
    • หัวข้อ ความจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล และการขาดแคลนแรงงานชำนาญการในด้านนี้ : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในด้านนี้อย่างรวดเร็วจนทำให้กลุ่มผู้ประกอบการทั้งทางฝั่งผู้ใช้ (Demand) และฝั่งผู้ผลิต (Supply) มีความยากลำบากในการที่จะปรับตัวเองเข้าสู่การเป็นผู้ใช้และผู้พัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้
    • หัวข้อความเสื่อมถอยทางธุรกิจและการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดโลก : เป็นที่ชัดเจนว่าสถานการณ์ความถดถอยของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งทั่วโลกในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย จนเป็นเหตุทำให้เกิดสภาวะการแข่งขันในกลุ่มประเทศที่มีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน โดยการแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
    • หัวข้อ Industrial 0& Digitalization และ 5G Technology : การพัฒนา Infrastructure ที่มีความจำเป็นต่อเนื่องจากระยะสั้นนั้น มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาให้ครอบคลุมทั่วถึงไปใน Manufacturing Technology Level เพื่อให้กระบวนการผลิตและ Value Supply Chain ในภาคอุตสาหกรรมสามารถต่อเนื่องเชื่อมโยงกันได้ด้วยระบบสื่อสารในระดับที่เป็น 5G Technology ที่กำลังจะเข้ามาในระยะเวลาอันใกล้นี้
    • วิเคราะห์ : ปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะกลาง 35 ปี
    • หัวข้อ AI Technology และ Blockchain Technology : เป็นเทคโนโลยีในกลุ่มดิจิทัลซึ่งจะมาต่อยอดกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งข้อมูลต่างๆที่อยู่ในระดับ Field Layer ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบดิจิทัลทั้งหมดแล้ว จึงสามารถนำข้อมูลเข้าสู่กระบวนการขั้นถัดไป ในการนำข้อมูลนั้นมาทำ Analysis และ Process ในการสั่งการทำงานและก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนรู้และตัดสินใจในการดำเนินงานในขั้นถัดไป ให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติและต่อเนื่อง
    • หัวข้อ สังคมผู้สูงอายุและสังคมแบบต้องการความมั่นคงในการดำรงชีวิต : เป็นหัวข้อที่เกิดจากพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งจากสภาวะการแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซึ่งมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตของคนทั้งโลก จากแรงกดดันทางภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง
    • วิเคราะห์ : ปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว 510 ปี
    • หัวข้อ Thailand Geographic Advantages as ASEAN Hub : เป็นเป้าหมายด้าน Outcome อีกตัวหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดการสร้างความได้เปรียบต่อคู่แข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรม โดยใช้วิธีการในการใช้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลนี้ ร่วมกับความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ที่เป็นจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์และการเดินทางเพื่อการกระจายการให้การบริการและผลิตภัณฑ์ทางด้านนี้ ไปสู่กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน
    • หัวข้อ A&R Global Demand , Digital Supply Chain : เป็นแนวโน้มของโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่โลกจะถูกปรับเปลี่ยนมาใช้การผลิตและการดำรงชีวิตด้วยระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และเชื่อมสายการผลิตและ Supply Chain ต่างๆด้วยระบบดิจิทัล  ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของแผนจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้ทำการระดมสมองเพื่อสรุปภาพรวมทิศทาง สรุปผลปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม (Driver) พร้อมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trend) และ การวิเคราะห์ผลต่ออุตสาหกรรม จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย (Implication) เพื่อนนำไปใช้ในการวางแผนและผลักดันให้เกิด Strategic Target อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotic) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0

คณะนักวิจัยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) ซึ่ง มีผู้เข้าร่วม 62 คน หน่วยงานภาครัฐ/สถานศึกษา 31 คน หน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรอิสระ 22 คน และคณะทำงาน 9 คน  โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้ข้อมูลและความเห็นที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมหุ่นยนต์ได้ดังนี้

1. คุณศักดา สารพัดวิทยา รองนายกสมาคม TARA ได้กล่าวถึง ความต้องการที่แท้จริงของภาคเอกชนในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม”

คุณศักดา สารพัดวิทยา ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริง ของอุตสาหกรรมที่จะใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งทางนักวิจัยและผู้พัฒนาจะต้องมองให้เห็นภาพความต้องการนี้ จากเริ่มต้น จนถึง สิ้นสุดว่า จะสามารถวิจัยและพัฒนา Application นั้นๆได้อย่างไร และที่สำคัญที่สุดก็คือการจะต้องมองให้เห็นถึง KPI หรือผลลัพธ์ ในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานจริงว่าจะต้องส่ง ผลดีและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ที่ลงทุนในการสร้างระบบและ ผู้นำระบบไปใช้ ซึ่งในปัจจุบันผู้พัฒนา System Integrator และบริษัทในประเทศไทยสามารถพัฒนา ระบบอัตโนมัติ และ Industrial Robot รวมถึง Autonomous Mobile Robot (AMR) ได้แล้วในประเทศไทย แต่จุดที่ยากก็คือจะต้องนำระบบเหล่านี้ไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับ กระบวนการผลิตของผู้ใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม

2. อาจารย์เพิ่มศักดิ์ สุขศิริ นำเสนอผลการศึกษา Strategic Targets  และระดมสมองเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่เป็นไปได้เพื่อรองรับการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม  (list of potential products/services)


       โดยบทสรุป และ Strategic Target ที่ได้จากการจัดทำ ประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปของ Strategic Target ใน 3 ระยะ ตามที่แสดงในรูปข้างบน รวมไปถึงจากการทำ Workshop ครั้งที่ 1 ดังกล่าวทำให้ได้ ร่างของ Product and Service รวมถึง Process ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งได้มาทั้งสิ้น 7 หัวข้อ โดยได้นำมาทำการวิเคราะห์ต่อในรูปแบบของชุมชนนักวิจัย Bibliomentric เพื่อให้เห็นถึงหัวข้อของงานวิจัยที่ชุมชนนักวิจัยในประเทศไทยได้ทำอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงจะได้เห็น Cluster หรือการรวมกลุ่มการทำงานของนักวิจัย ทั้งจากในมหาวิทยาลัยเดียวกันและจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงได้เห็นความเชื่อมโยงงานวิจัยที่ได้ทำร่วมกับต่างประเทศ โดยคำนิยามของ Product and Service จำนวน 5 หัวข้อและ Process จำนวน 2 หัวข้อมีคำอธิบายดังตารางข้างล่างนี้

3. ผศ.ดร.เต็มสิริ ทรัพย์สมาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ระดับความพร้อมของเครือข่ายวิจัย ผ่านกระบวนการบรรณมิติ
ผศ.ดร.เต็มสิริ ทรัพย์สมาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้นำเสนองานวิจัย bioplastic ที่ได้การนำข้อมูลจากสกอร์ Plus มาใช้ในการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมเพื่อให้เห็นกราฟและ diagram ต่างๆในการบ่งบอกถึงชุมชนนักวิจัยและหัวข้อในงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยและองค์กรวิจัยในประเทศไทยได้ทำการวิจัยอยู่ในปัจจุบัน ดังมีรายละเอียด ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

      • ตัวอย่าง สถานภาพการทำวิจัยภายในประเทศ ประเด็นด้าน Industrial Robots

จากการวิเคราะห์บทความวิจัยด้าน Industrial Robots ในประเทศไทย ทั้งที่ตีพิมพ์ในวารสารและการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ เป็นภาษาอังกฤษ บนฐานข้อมูล SCOPUS จำนวน 202 บทความ พบว่า บทความทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1993 ถึง 2021 โดยจำนวนบทความเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016

ตัวอย่าง หัวข้อวิจัยด้าน Industrial Robot ของนักวิจัยไทย

ผศ.ดร.เต็มสิริ ทรัพย์สมาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ Bibliometric of Robotics Research  โดยละเอียดในอีก 5 หัวข้อ ดังนี้

        • Industrial Robots
        • Autonomous Mobile Robot ( AMR )
        • Industrial Internet of Things
        • AI Vision Control System
        • AI for Automation & Robotics

โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้ทำการระดมสมอง เพื่อสรุปภาพรวมข้อเสนอแนะของคณะผู้เชี่ยวชาญ ในการจัดทำเกณฑ์ประเมินระดับความพร้อมการพัฒนาของเทคโนโลยี เพื่อยืนยันระดับ TRL (Technology Readiness Level: TRL) ของงานวิจัยในผลิตภัณฑ์ต่างๆในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เพื่อสรุปเป็นสถานะภาพปัจจุบันของระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL) ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง