Dual-use
and security

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคง

เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการทหารและป้องกันประเทศ (ภาคความมั่นคง) ในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (ภาคพลเรือน) ได้ด้วย เช่น โดรนขนส่งและสังเกตการ ผ้ากราฟีนอัจฉริยะ ระบบตรวจโรคระบาดและสารเสพติด แบตเตอรี่ทางเลือก และระบบตรวจสอบเตือนภัยภัยพิบัติ

การรับมือด้านความไม่สงบอาชญากรรมเพื่อสนับสนุนด้านความมั่นคง

การรับมือภัยพิบัติโรคระบาดสำหรับวิถีชีวิตใหม่

การรับมือภัยต่อระบบพลังงานสำหรับกิจการความมั่นคง

การรับมือภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

image
image
รายนามนักวิจัย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

สรุปปัจจัยผลักดันเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

จากการระดมสมองโดยเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคงในประเทศไทย ภายใต้ปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trend) รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม (Implication) ในระยะสั้น (2022-2023) ระยะกลาง (2024-2026) และระยะยาว (2027-2030) ทั้ง 4 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การรับมือด้านความไม่สงบอาชญากรรมเพื่อความมั่นคงและสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย

    • Cybercrime and Future terrorism
    • Smart city

ประเด็นที่ 2 การรับมือภัยพิบัติโรคระบาดสำหรับวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย

    • Rapid diagnostic test
    • Disinfection and Infection control

ประเด็นที่ 3 การรับมือภัยต่อระบบพลังงานสำหรับกิจการความมั่นคง ประกอบด้วย

    • Energy storage
    • Alternative battery
    • CO2 neutral and CO2 Emissions

ประเด็นที่ 4 การรับมือภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย

    • Technology in natural disaster
    • Environmental Pollution

image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

การจัดลำดับผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคง

การดำเนินการศึกษาวิจัยและปฏิบัติการเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งในด้านของความมั่นคง ภาคอุตสาหกรรม และคณะนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคงชั้นนำของประเทศ เพื่อร่วมให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะถึงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย ณ ปัจจุบันและทิศทางการพัฒนาในอนาคต ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและมีส่วนที่เร่งด่วน เพื่อพัฒนาให้เกิดความมั่นคงของประเทศพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในทุก ๆ มิติในบริบทของประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสองทางและความมั่นคง จึงมีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย ภายใต้ทั้ง 4 ประเด็น ที่ได้กล่าวข้างต้น เช่น Data and cyber security, อุปกรณ์ตรวจจับ/สอบสวน/ควบคุม/ป้องกันเจ้าหน้าที่, อุปกรณ์ตรวจและติดตามผู้ป่วย, อุปกรณ์ home isolation, ระบบพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน, แบตเตอรี่ปลอดภัย/มั่นคง, อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนและอุปกรณ์ป้องกัน, อุปกรณ์ตรวจจับและระบบบำบัดมลพิษ และ Open API สำหรับอาชญากรรม เป็นต้น

image

สามารถมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็น ในการจัดทำแผนที่นำทางฯ ผ่านทาง Comments ด้านล่าง